วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สร้างสรรค์

แค่คิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ มองข้ามกฏเกณฑ์บ้าง  เราก็จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ..ลองดูสิ..

http://www.dek-d.com/board/view/3401043/

หูหิ้วขวดน้ำ

อันเนื่่องมาจาก เดือยพลาสติกล็อคหูหิ้วขวดน้ำหักไปหนึ่งข้าง ทำให้ไม่สามารถใช้หิ้วน้ำได้ จะทำอย่างไรดี กระบวนการเทคโนโลยีจึงถูกนำมาใช้โดยอัตโนมัติ
1.เมื่อเกิดปัญหาและความต้องการ : ต้องการซ่อมให้หูหิ้วถังน้้ำใช้หิ้วได้เหมือนเดิม
2.รวบรวมข้อมูล : จากประสบการณ์เดิม ๆ ที่ผ่านมา สายรัดพลาสติกที่เรียกว่า เคเบิลไทร์ มีความเหนียวและมีตัวล็อคที่แข็งแรงและรวดเร็ว น่าจะใช้ได้
3. เลือกวิธีการ : ใช้เคเบิลไทร์รัดคอขวดน้ำ ซึ่งมีขอบสูง
4. ออกแบบและปฏิบัติ : ไม่ต้องออกแบบ ลงมือปฏิบัติโดยใช้สายเคเบิลไทร์ ลอดรูตรงที่หูหิ้วล็อค แล้วรัดกับคอขวด สอดปลาย ดึงสายให้ตึงที่สุด แล้วตัดปลายให้สั้น
5. ทดสอบ : ทำการทดสอบโดยใส่น้ำให้เต็มถัง แล้วปิดฝา ทดลองหิ้วดู
6. แก้ไข : ใช้งานได้ ไม่ต้องแก้ไข
7. ประเมินผล : สรุปว่าวิธีการนี้ได้ผลดี เผยแพร่ได้






โคมไฟหัวจ่ายน้ำมัน

หากลองนั่งจินตนาการ อาจจะได้ไอเดียแบบนี้  
โคมไฟหัวจ่ายน้ำมัน ที่ไม่ได้ใช้แล้ว ดูเทห์ แปลก และไม่เหมือนใคร



เรือโฮเวอร์คราฟ

DIY #2  เรือโฮเวอร์คราฟ

จากเศษวัสดุและอุปกรณ์จากของเล่นที่ไม่ได้ใช้ ใกล้ ๆ ตัว มาคิดทำของเล่นชิ้นใหม่ เรือสะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบก หรือเรียกกันว่า "โฮเวอร์คราฟ"  ที่สามารถวิ่งได้ทั้งบนบกและในน้ำ










วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความหมาย

DIY เป็นคำย่อ มาจากคำว่า "DIYourself" หมายถึง "คุณทำได้ด้วยตัวเอง" เป็นอีกกิจกรรมที่ผมชอบมาก  ๆ เนื่องจากได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีขีดจำกัด ทั้งที่ได้เห็นตัวอย่างจากเว็บไซต์ จากประสบการณ์ตรงที่ได้เห็นของจริง นำมาประยุกต์ ดัดแปลง ผสมผสาน ได้เป็นนวัตกรรมใหม่ชองตัวเราเอง
 ข้อดี คือ 1. ประหยัดเงินในกระเป๋า (ตามพระราชดำริของในหลวง)
               2. ได้นำความรู้ในด้านลูกเสือมาประยุกต์ใช้จริง เรื่องเงื่อนเชือก งานบุกเบิก ฯลฯ
               3. เป็นตัวอย่างให้กับนักเรียนที่สอน ในฐานะที่เราเป็นครูการงานอาชีพและเทคโนโลยี
               4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
               5. มีความสุขกับการจินตนาการและใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ
  ข้อเสีย มีข้อเดียว คือทำแล้วอาจติดพันจนลืมทานข้าว ทานน้ำ และลืมกิจกรรมอย่างอื่นได้  


โคมไฟขวดน้ำ


             เราอยากได้โคมไฟสวย ๆ สำหรับใช้งานสักอัน  ขั้นแรก เราก็คิดก่อนว่าจะใช้วัสดุอะไร อันนี้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้วจะเกิดไอเดีย มีกล่องใส่กระดาษทิชชูเก่า กับขวดสีสะท้อนแสงของน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่ง ปิ๊ง..ไอเดีย ได้อันนี้ครับ

ถ้าใช้หลัก กระบวนการทางเทคโนโลยี 7 ขั้นตอน มาจับ ก็จะได้ ดังนี้
1. กำหนดความต้องการ   :   โคมไฟจากเศษวัสดุ
2. รวบรวมข้อมูล : จากประสบการณ์เดิม ที่เคยดู เคยเห็นจากอินเทอร์เน็ตและของจริง
3. เลือกวิธีการ : นำมาเจาะประกอบด้วยกาวร้อนหรือกาวแท่ง
4. ออกแบบและปฏิบัติ : ออกแบบร่างในกระดาษ และลงมือปฏิบัติ ด้วยการวัดและเจาะกล่องกระดาษทิชชู ให้มีขนาดเล็กกว่าปากขวดเล็กน้อย
5. ทดสอบ : ลองใส่หลอดไฟและห้อย
6. แก้ไข : ไม่แน่น ไม่แข็งแรง ติดกาวเพิ่ม
7. ประเมินผล : ใช้งานได้ดี ปรับแต่งเพิ่มด้วยการพ่นสีสเปรย์ให้มีสีสันสวยงามมากขึ้น